ทนายความจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอกันทรลักษ์

ทนายความจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอกันทรลักษ์

เปิดหน้าต่อไป

รู้จักจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอกันทรลักษ์

มารู้จักอำเภอกันทรลักษ์

กันทรลักษ์ [กัน-ทะ-ระ-ลัก เป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษและมีประชากรมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ไม่รวมอำเภอเมือง) มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่มากมาย พร้อมทั้งมีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งเกษตรกรรมผลิตพืชผลออกจำหน่ายอยู่หลายประเภท เช่น เงาะ ทุเรียน ลำไยสะตอ ลิ้นจี่ ยางพารา และผักสวนครัว คำแปลของชื่ออำเภอ มาจากภาษาบาลี [กนฺทร+ลกฺข] กนฺทร : ส่วนแห่งภูเขา อันน้ำเซาะ, ซอก, ซอกเขา, ถ้ำ, ลำธาร + ลกฺข : จำนวนแสน (สันสฤต ลกฺษ) มีที่มาจากชื่อเดิมบ้านห้วยลำแสนไพรอาบาล

อำเภอกันทรลักษ์

การถอดเสียงอักษรโรมัน • อักษรโรมัน 

Amphoe Kantharalak

คำขวัญ: กันทรลักษ์ เมืองหลักการเกษตร เขตประตูสู่

เขาพระวิหาร งามพลาญผามออีแดง แหล่งรวมวัฒนธรรม

อำเภอกันทรลักษ์พิกัด: 14°38′24″N 104°39′0″E

ประเทศ ไทย จังหวัดศรีสะเกษ 

พื้นที่ ทั้งหมด1,346.0 ตร.กม. (519.7 ตร.ไมล์)

ประชากร (2564) ทั้งหมด 201,521 คน

ความหนาแน่น149.72 คน/ตร.กม. (387.8 คน/ตร.ไมล์)

รหัสไปรษณีย์ 33110

รหัสภูมิศาสตร์3304

ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์

หมู่ที่ 5 ถนนอนันตภักดี ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษ์

จังหวัดศรีสะเกษ 33110

สถานที่ที่สำคัญ

  • สวนสาธารณะหนองกวางดีด สวนเกษตรและผลไม้

ตั้งอยู่ที่บ้านซำตารมย์ หมู่ที่ 7 ตำบลตระกาจ การเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวสวนเกษตร/ผลไม้ ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 65 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 ถึงสี่แยกการช่าง เลี้ยวซ้ายมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) และห่างจากอำเภอกันทรลักษ์ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 ถึงสี่แยกการช่าง เลี้ยวขวาตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ถึงบ้านซำตารมย์ เลี้ยวซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตร ก็ถึงสวนเกษตรและผลไม้ ช่วงฤดูกาลในการท่องเที่ยวสวนเงาะและทุเรียน คือ เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม

ปราสาทโดนตวล

ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิซรอล ตำบลภเสาธงชัย ห่างจากหมู่บ้าน 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 38 กิโลเมตร ตามเส้นทาง อำเภอกันทรลักษ์-ผามออีแดง เป็นปราสามขอมโบราณขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูง บนเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วยปรางค์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐ ซุ้มประตูก่อด้วยศิลา และมีรูปสิงโตจำหลักอยู่หน้าปราสาท

พลาญจำปา

มีเนื้อที่ประมาณ 184 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา เป็นที่ นสล.ของหมู่บ้านคลองทราย หมู่7 มีพลาญหินกว้างใหญ่ สวยงาม มีพืชพรรณต้นไม้หลากหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีเปิงหินที่สวยงามรูปทรงต่างๆ มีถ้ำและมีหน้าผาจุดชุมวิวที่สวยยิ่งเหมาะแก่การพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของตำบลรุง ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ห้วยตะวัน หรือ แก่งตะวัน

ห้วยตะวันอยู่ในเขตตำบลบึงมะลู ติดกับ ตำบลรุงเป็นห้วยที่เพิ่งค้นพบเป็นห้วยที่มีน้ำไหลลักษณะคล้ายน้ำตก

หาดสำราญ

มีแหล่งน้ำธรรมชาติใสสะอาด ชายหาดสวยงาม มีจักรยานน้ำไว้บริการให้นักท่องเที่ยวชมธรรมชาติรอบ ๆ หาด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดการแข่งขันวอลเล่ย์บอลชายหาด บรรยากาศเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ตำบลโนนสำราญ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 130 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัดคือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำขุ่น กับอำเภอน้ำยืนจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 สภาพภูมิประเทศทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาตามแนวทิวเขาพนมดงรักกั้นชายแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยหากินข้ามไปมาในผืนป่าระหว่างสองประเทศได้แก่ หมูป่า กวาง เก้ง กระต่าย กระรอก ชะนี ชะมด เป็นต้น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยังมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

ผามออีแดง

เป็นหน้าผาสูง 500 เมตร แบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา เป็นหน้าผาหินสีแดงที่มองเห็นทัศนียภาพของดินแดนเขมรต่ำได้กว้างไกลสุดตาและจากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นปราสาทเขาพระวิหารได้ นับเป็นจุดชมวิวในมุมสูงที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ในช่วงฤดูฝนจะปรากฏทะเลเมฆที่ไหลมาจากที่ราบแผ่นดินเขมรต่ำมาปะทะหน้าผาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ไปเยือนผามออีแดงในฤดูนี้จะได้มีโอกาสอาบเมฆอย่างแสนประทับใจ

บันไดชมภาพสลักนูนต่ำภาพสลักนูนต่ำ รูปแกะสลักโบราณ

ซึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้หน้าผามานับพันปี อยู่ทางทิศใต้ของผามออีแดง มีบันไดให้ลงไปชมได้สะดวก เป็นภาพเทพสามองค์ เชื่อว่าเป็นที่ซ้อมมือของช่างในการแกะสลักก่อนเริ่มการแกะสลักจริงที่ปราสาทเขาพระวิหาร สถูปคู่ ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของผามออีแดง ตัวสถูปทำจากหินทรายตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ด้านบนกลมมนตั้งอยู่คู่กัน ข้างในเป็นโพรงบรรจุสิ่งของ เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของสมัยนั้น

ในช่วงปลายฝนต้นหนาว เดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม  ได้มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีทะเลหมอกเกิดขึ้นมา  มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  จำนวนมากได้หลั่งไหลเดินทางขึ้นมา เพื่อชมทะเลหมอกบนผามออีแดง ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่มีความงดงามในทางธรรมชาติและในมิติทางสุนทรียภาพเป็นอย่างยิ่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอกันทรลักษ์ และในอีสานใต้อีกแห่งหนึ่งปราสาทโดนตวล

สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 อยู่บริเวณบ้านภูมิซรอล เป็นปราสาทหินแบบขอม ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทยห่างจากหน้าผาชายแดนไทย-กัมพูชา ประมาณ 300 เมตร มีตำนานเล่าว่านามนมใหญ๋ (เนียงเดาะทม) ได้แวะพักที่แห่งนี้ในขณะที่เดินทางไปเฝ้ากษัตริย์พระองค์หนึ่ง

แหล่งตัดหินเขาพระวิหาร เป็นร่องรอยการตัดหินเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเพื่อนำไปสร้างปราสาทเขาพระวิหารบนลานหินทรายของเทือกเขาพนมดงรัก โดยในเขตอุทยานฯ ค้นพบที่บริเวณลานหินผามออีแดง สถูปคู่ และบารายสระตราวน้ำตกและถ้ำขุนศรี น้ำตกอยู่เหนือถ้ำขุนศรีสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของสระตราวใกล้เส้นทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร ส่วนถ้ำขุนศรีภายในมีขนาดกว้าง เชื่อกันว่าเป็นที่พักของขุนศรีขณะมาควบคุมการตัดหินบริเวณสระตราวเพื่อใช้สร้างปราสาทเขาพระวิหาร

ภาพสลักนูนต่ำ

เขื่อนห้วยขนุน เป็นอ่างเก็บน้ำชลประทานและเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เขื่อนห้วยขนุน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 15 กิโลเมตร มีทิวทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนเที่ยวชมธรรมชาติ และเข้าค่ายกางเต็นท์พักแรมเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่แนะนำมีสองเส้นทาง ได้แก่ เส้นทางผามออีแดง-สระตราว มีพรรณไม้ที่น่าสนใจมากมายอาทิ พืชสมุนไพร กล้วยไม้ และดอกหญ้าบนลานหินช่วงปลายฝนต้นหนาว เส้นทางศึกษาธรรมชาติกล้วยไม้เขาพระวิหาร ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีกล้วยไม้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะเอื้องระฟ้า กล้วยไม้เฉพาะถิ่น เป็นพืชเด่นที่พบมากในอุทยานฯ ช่องอานม้า เป็นจุดผ่อนปรนในการค้าขายและผ่านแดนระหว่างไทย-กัมพูชา อยู่ที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเฉพาะวันอังคารและวันพฤหัสบดี

การเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ก่อนถึงอำเภอสีคิ้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอปักธงชัย อำเภอสังขะ และอำเภอขุขันธ์ ถึงสี่แยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 เลี้ยวขวาเข้าสู่อำเภอกันทรลักษ์ แล้วต่อไปยังที่ทำการอุทยานฯ หรือจากจังหวัดอุบลราชธานีใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2178 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 ผ่านอำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง อำเภอเบญจลักษ์และอำเภอกันทรลักษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่พักและสถานที่กางเต็นท์ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร 0 9522 4265, 0 1224 0779 หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th

ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์

ตั้งอยู่ที่บ้านบก หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหญ้าลาด การเดินทาง เริ่มจากตัวจังหวัดศรีสะเกษถึงอำเภอกันทรลักษ์ ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร บริเวณสี่แยกทางไป เขาพระวิหาร จะมองเห็นศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2542 และก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยประกอบพิธีอัญเชิญหลักเมืองมาประดิษฐาน เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2548ศาลหลักเมืองนี้ มีชื่อว่า "เจ้าพ่อศรีศักดิ์หลักเมือง" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่สักการะของประชาชน มีความสวยงาม เด่นเป็นสง่า คู่บ้านคู่เมืองอำเภอกันทรลักษ์ สามารถเที่ยวชมและกราบไหว้สักการะได้ตลอดปี และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ออกกำลังกายด้วย

ตั้งอยู่ที่บ้านราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำอ้อม การเดินทางเริ่มจากตัวจังหวัดศรีสะเกษถึงอำเภอกันทรลักษ์ ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร เดินทางโดยถนนสินประดิษฐ์ถึงสี่แยกไฟแดง เลี้ยวขวาเข้าสวนสาธารณะหนองกวางดีด สภาพโดยทั่วไปเป็นสวนสาธารณะที่อยู่ในกลางเมืองกันทรลักษ์ ถือได้ว่าเป็นปอดของชาวอำเภอ มีบรรยากาศสวยงามร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทงเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ ท่องเที่ยวได้ตลอดปี

X